เข้าสู่ระบบสมาชิก

Login

ใบส้ม!! มากกว่าเหลือง น้อยกว่าแดง

ใบส้ม!! มากกว่าเหลือง น้อยกว่าแดง

ใบส้ม : กฎแห่งการสำนึกบาป ที่อาจนำมาใช้ในฟุตบอล

“มากกว่าการเตือน แต่น้อยกว่าการไล่ออก” คือนิยามของ “ใบส้ม” กฎแห่งการสำนึกบาปที่อาจนำมาใช้ในฟุตบอล

“ใบส้ม” หรือ “กฎ Sin-bins” กลับมากลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้ง เมื่อมีกระแสข่าวว่าพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เตรียมนำกฎนี้มาใช้ในฤดูกาล 2024-25

คอกีฬาหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินเรื่องใบส้มกันมาบ้างแล้ว แม้กฎนี้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับฟุตบอล แต่ในกีฬารักบี้ และฮ็อกกี้นำ้แข็ง มีการใช้ใบส้มมานานแล้ว โดยผู้เล่นที่โดนคาดโทษใบส้มจะต้องออกจากการแข่งขันไปตามระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อครบเวลาแล้วสามารถกลับมาลงเล่นต่อได้

แต่กฎนี้จะเป็นกฎที่เหมาะสมกับเกมฟุตบอลจริง ๆ หรือไม่ เหล่าคนในวงการมีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร และหากนำมาใช้จริง ๆ จะส่งผลต่อเกมฟุตบอลอย่างไรบ้าง

ใบส้ม คืออะไร ?

ใบเหลือง ใบแดง คงเป็นสิ่งแฟนบอลทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ใบเหลืองใช้สำหรับตักเตือนความผิดเล็กน้อย ส่วนใบเแดงใช้สำหรับความผิดร้ายแรง และจะต้องออกจากการแข่งขันไป

ใบส้มจึงเปรียบเสมือนจุดกึ่งกลางระหว่างใบเหลืองและใบแดง ใช้สำหรับความผิดที่แค่ตักเตือนด้วยใบเหลืองไม่พอ แต่ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นต้องเป็นใบแดง

”ใบส้ม” หรือ “กฎ Sin-bins” ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในกีฬารักบี้ เพื่อจัดการกับการทำฟาวล์ทางแทคติก หรือการไม่ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสินที่อาจสร้างความหงุดหงิดแก่ทีมที่เสียผลประโยชน์ หรือในอีกกรณีหนึ่ง คือ การทำฟาว์ลที่ไม่แน่ใจว่าสมควรจะเป็นใบแดงหรือไม่ โดยผู้ตัดสินจะให้ใบส้มกับผู้เล่นก่อน ผู้เล่นจะต้องออกจากการแข่งขันและถูกส่งไปอยู่ในพื้นที่ Sin-bins เป็นเวลา 10 นาที

ในะหว่างนั้นทีม TMO หรือถ้าเปรียบเทียบในฟุตบอลก็คือ VAR จะพิจารณาจังหวะการทำฟาวล์นั้นว่าควรจะลงโทษด้วยใบอะไร หากเป็นความผิดร้ายแรงที่ควรจะเป็นใบแดง ผู้ตัดสินในสนามสามารถปลี่ยนคำตัดสินจากใบส้มเป็นใบแดง และไล่ผู้เล่นออกจากสนามได้ แต่หากพิจารณาแล้วว่าการทำฟาวล์นั้นไม่รุนแรงและควรเป็นแค่ใบเหลืองเท่านั้น ผู้ตัดสินก็จะคาดโทษผู้เล่นด้วยใบเหลือง และผู้เล่นคนนั้นก็จะสามารถกลับมาลงเล่นต่อได้หลังครบเวลา 10 นาที

จุดประสงค์ในการบังคับใช้ใบส้มในกีฬารักบี้ เพราะต้องการให้ผู้เล่นได้ไปสงบสติอารมณ์ หรือคิดทบทวนตัวเอง ในกรณีที่ไม่ยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน และเพื่อให้ผลลัพธ์ของการตัดสินถูกต้องที่สุด

ส่วนในฟุตบอลกฎนี้ถูกพูดถึงครั้งแรกเมื่อปี 2014 โดย เฌอโรม ชองปาญ อดีตคณะกรรมการบริหารฟีฟ่า ที่เสนอตัวเองลงชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าในสมัยนั้น ได้เสนอให้นำกฎ “Sin-bins” หรือ การแจก “ใบส้ม” มาใช้ในฟุตบอล โดยกล่าวว่า

“ปัญหาการตัดสินของผู้ตัดสินในสนามมีหลายกรณีที่สร้างความลำบากใจให้กับเหล่าผู้ตัดสิน เช่น  การพุ่งล้ม การถอดเสื้อดีใจ หรือการทำแฮนด์บอล ซึ่งหลายครั้งอาจตัดสินแบบค้านสายตาแฟนบอล ดังนั้นการแจกใบส้มจึงเป็นทางออกของปัญหานี้ได้”

 

 

เขายกตัวอย่าง เช่น หากผู้เล่นมีใบเหลืองติดตัวอยู่แล้ว แต่ดันไปถอดเสื้อดีใจ โดยปกติผู้เล่นจะต้องโดนใบเหลืองที่ 2 และโดนไล่ออกจากสนาม แต่การตัดสินแบบนี้อาจดูไม่สมเหตุสมผล หากผู้เล่นจะโดนไล่ออกเพียงเพราะได้ใบเหลืองจากการถอดเสื้อดีใจ แต่หากนำกฎใบส้มมาใช้ ผู้เล่นก็จะไม่ถูกไล่ออกจากสนามถาวร แต่จะโดนไล่ออกจากการแข่งขันเพียง 10 นาทีเท่านั้น

แต่กฎนี้ก็ถูกปัดตกไปหลังจากที่เจ้าตัวไม่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานฟีฟ่า

พรีเมียร์ลีก เตรียมนำมาใช้ฤดูกาลหน้า ?

กระแสของใบส้มกลับมากลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้ง หลังจากในการประชุมประจำปี ของ IFAB ที่ลอนดอน ได้เสนอให้ทดลองนำใบส้มมาใช้ในพรีเมียร์ลีก และหลายสื่อใหญ่ต่างตีข่าวว่า พรีเมียร์ลีก เตรียมนำกฎนี้มาใช้ในฤดูกาลหน้า แต่ถึงกระนั้นสมาคมฟุตบอลอังกฤษยังไม่ได้ออกมายืนยันเรื่องนี้ ว่าจะนำมาใช้ในฤดูกาลหน้าจริง ๆ หรือไม่

ลูคัส บรูด เลขาธิการและประธานบริหารของ IFAB กล่าวกับ The Times ว่า

“พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเตะเป็นปัญหาสำคัญของฟุตบอล เรากำลังพิจารณาสิ่งที่เราสามารถทำได้ผ่านกฎของเกมและสร้างมาตรการเพิ่มเติม Sin-bins ช่วยแก้ปัญหาในลีกระดับรากหญ้าไปแล้ว เราจึงอยากทดลองใช้ในฟุตบอลระดับสูงกว่า”

“ผู้เล่นอาจไม่กังวลมากนักเกี่ยวกับการได้รับใบเหลืองจากการพูดจาไม่เหมาะสมกับผู้ตัดสิน แต่มันสามารถสร้างความแตกต่างได้มากหากกลายเป็น 10 นาทีที่ต้องออกจากสนาม”

เมื่อฤดูกาล 2019-20 มีการนำกฎนี้มาทดลองใช้แล้วในเกมลีกระดับรากหญ้า 31 ลีก ซึ่งการทดลองในครั้งนั้นได้รับผลตอบรับดีมากทั้งจากผู้ตัดสิน และผู้จัดการทีม จากการเปิดเผยข้อมูลของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) ระบุว่าสามารถลดปัญหาการคัดค้านคำตัดสินได้ถึง 38%

โดยในการเสนอให้ทดลองนำมาใช้ในฟุตบอลระดับลีกสูงสุดครั้งนี้ ใบส้มจะใช้ในกรณีที่นักเตะทำฟาวล์แล้วแสดงอาการไม่พอใจ ไม่ยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน ที่โดยปกติแล้วผู้ตัดสินจะตักเตือน หรือคาดโทษด้วยใบเหลือง แต่หากนำใบส้มมาใช้ ผู้ตัดสินจะสามารถส่งผู้เล่นออกจากสนามได้เป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้ผู้เล่นได้ไปสงบสติอารมณ์ และทบทวนการกระทำของตัวเอง

กัปตันทีมจะเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับผู้ตัดสินได้ ในกรณีที่ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน เมื่อกฎใบส้มถูกนำมาใช้ เราจะเห็นภาพผู้เล่นเข้าไปรุมถามผู้ตัดสินน้อยลง ซึ่งจะช่วยลดความวุ่นวาย และความเดือดดานในเกมได้

หรือการทำฟาวล์ที่มากกว่าใบเหลืองแต่น้อยกว่าใบแดง ตัวอย่างของกรณีนี้ทาง  IFAB ได้อ้างถึงการทำฟาวล์ของ จอร์โจ คิเอลลินี ที่ใช้มือคว้าคอเสื้อของ บูกาโย ซากา ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 2020 ซึ่งนับเป็นการทำฟาวล์ทางแทคติกเพื่อหยุด บูกาโย ซากา ที่กำลังขึ้นเกมรุก ถือเป็นตัวอย่างในอุดมคติของใบส้ม เพราะไม่รุนแรงพอที่จะเป็นใบแดง และดูจะเบาเกินไปหากเป็นใบเหลือง การเจตนาทำฟาวล์คู่แข่งในลักษณะนี้ควรได้รับการลงโทษที่มากกว่าการคาดโทษ โดยการให้ผู้เล่นออกจากสนามไป 10 นาที

มาร์ค บูลลิงแฮม ผู้บริหารระดับสูงของ FA และผู้อำนวยการ IFAB อธิบายว่า

“เรากำลังพิจารณาอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฟาวล์ทางแทคติก ผมคิดว่าแฟน ๆ คงหงุดหงิดเมื่อพวกเขาดูเกมแล้วเห็นจังหวะเกมโต้กลับที่หวังเป็นประตูได้ แต่กลับถูกทำลายด้วยการทำฟาวล์ และตามมาด้วยคำถามที่ว่าใบเหลืองเพียงพอแล้วหรือ ทำให้เราต้องพิจารณาเรื่องนี้เพิ่มเติม”

“ผู้เล่นบางคนทำฟาวล์ ผมรู้ว่าคนเรียกมันว่าฟาวล์แทคติก แต่เป็นการฟาวล์ที่ป้องกันการโจมตีที่คาดหวังได้ และพวกเขาทำโดยเจตนา โดยที่รู้ว่าต้องโดนใบเหลือง และผมคิดว่ามันทำให้เกมพังจริง ๆ ดังนั้นพวกเขาจะไม่ทำอย่างนั้นอีกถ้ามีกฎ sin-bins”

และอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ หากผู้เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตูโดนใบส้ม ทีมจะต้องเสียผู้เล่นในสนามอีกหนึ่งคนเพื่อมายืนในตำแหน่งผู้รักษาประตูแทน

 

 

ใบส้ม คือสิ่งที่ฟุตบอลต้องการจริง ๆ หรือ???

การจะนำกฎใหม่มาใช้ในฟุตบอลระดับสูงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความคิดเห็นต่อเรื่องหนึ่งเรื่องมักแตกออกเป็น 2 ฝ่ายเสมอ และในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน คนในวงการฟุตบอลมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับการนำกฎนี้มาใช้ เพราะเห็นว่าจะช่วยให้เกมการแข่งขันดำเนินไปได้ด้วยดี และช่วยลดการปะทะอารมณ์ระหว่างผู้เล่นและผู้ตัดสินได้ และฝ่ายที่คัดค้าน เพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ และจะทำให้ฟุตบอลเผด็จการเกินไป

ไซม่อน จอร์แดน อดีตประธานสโมสร คริสตัล พาเลช ที่ผันตัวมาเป็นนักข่าวกีฬาได้แสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนความคิดของ IFAB ไว้ว่า

“ผมคิดว่าน่าจะมีกรณีสำหรับการคาดโทษที่สามอยู่ตรงกลางความผิดระหว่างใบเหลือง-แดง ยกตัวอย่างเช่น คุณโดนใบเหลืองเพราะถอดเสื้อ แล้วคุณก็เถียงกับผู้ตัดสิน นั่นอาจกลายเป็นใบส้ม”

เจมี่ คาราเกอร์ อดีตปราการหลังของลิเวอร์พูลและทีมชาติอังกฤษ คืออีกหนึ่งคนที่ออกมาแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนแนวคิดนี้

“ผมไม่ได้ชื่นชอบกฎ sin-bins มาก่อน แต่เรากำลังดูเกมที่มีใบแดงมากเกินไป และสำหรับผมมันทำให้เกมพัง”

“มี 2-3 เหตุการณ์ในฤดูกาลนี้ที่ผมรู้สึกว่ามันควรเป็นมากกว่าใบเหลืองแต่ก็ไม่ถึงขั้นใบแดง คือ จังหวะใบแดงของมาร์คัส แรชฟอร์ด ในเกม UCL กับ โคเปนเฮเกน และ เคอร์ติส โจนส์ ในเกมเจอกับสเปอร์ หรือบางจังหวะที่ผู้เล่นได้แค่ใบเหลือง ผมคิดนะมันควรมีใบส้ม”

ในมุมมองของอดีตผู้ตัดสิน รีห์ส บอลด์วิน เห็นด้วยกับการทดลองนำกฎนี้มาใช้ โดยกล่าวกับ Daily Mail ว่า “ปริมาณการละเมิดนั้นบ้าไปแล้ว ผมมีเรื่องราวเกี่ยวกับการถูกละเมิดมากมาย ทั้งมีคนพยายามไล่ผมออกจากตำแหน่ง ถูกดักหยุดรถบนถนน ผมเลิกรักการเป็นผู้ตัดสินไปแล้ว และผมก็แค่ทำเพื่อเงิน แต่พูดตามตรง เงินนั่นไม่คุ้มเลย”

“หากนำ sin-bins มาใช้ อาจช่วยให้เป็นตัวอย่างที่ดีในการให้นักเตะเคารพผู้ตัดสินได้ มันก็คุ้มค่าที่จะลองดู ถึงจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่มันอาจกลายเป็นผลดีต่อเกมโดยรวมได้”

แต่ความคิดเห็นที่สนับสนุนแนวคิดของ IFAB นั้นดูจะกลายเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนคนในวงการทั้งอดีตนักเตะ อดีตผู้ตัดสิน ผู้จัดการทีม ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านเรื่องนี้

ปิแอร์ลุยจิ คอลลิน่า อดีตผู้ตัดสินระดับตำนาน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเจ้าแห่งวงการผู้ตัดสิน ที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าผู้ตัดสินของ FIFA ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้สั้น ๆ ว่า “อาจเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตฟุตบอล” 

แอนจ์ ปอสเตโคกลู กุนซือของ ท็อตแนม ฮอทสเปอร์ คือหนึ่งในคนที่มองว่า ใบส้ม หรือ กฎ Sin-bins ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นสำหรับฟุตบอลเลย

“โยนทิ้งมันซะเถอะไอเดียนี้ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงได้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมไม่รู้ว่าทำไมพวกเขาถึงต้องการแทรกแซงเข้าไปในเกมขนาดนี้” 

ในขณะที่ ฌอน ไดซ์ กุนซือของ เอฟเวอร์ตัน เห็นด้วยกับความคิดของ ปอสเตโคกลู “ปล่อยให้เกมมันดำเนินไปเถอะ ผมไม่รู้ว่าทำไมพวกเขาถึงอยากแทรกแซงเข้ามาในเกมขนาดนั้น สำหรับผมไม่คิดว่ามันจำเป็นเลย แต่แฟน ๆ อาจมีมุมมองที่แตกต่างออกไป ”

ไดซ์ ยังตั้งคำถามต่ออีกว่า “ถ้าผู้เล่นออกจากสนาม คุณจะจัดการเรื่องนั้นยังไง สุขภาพและความปลอดภัยของเขา เขาได้รับอนุญาตให้วอร์มร่างกายไหม หรือแค่ออกไปนั่งเฉย ๆ  แล้วเขาจะได้เวลาซัก 2 จาก 10 นาที ในการวอร์มร่างกายก่อนกลับมาลงสนามไหม ผมคิดว่าพวกเขายังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอยู่”

แม้แต่ จอห์น เทอร์รี่ กองหลังระดับตำนานของเชลซีและทีมชาติอังกฤษ ก็ได้ออกมาโพสต์บน X “สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือทีมที่เหลือ 10 คน เป็นเวลา 10 นาที จะลงไปรับต่ำ และทำให้ยากต่อการทำประตูของอีกฝั่ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับทุกคนที่ดู!”

แบฟฟินส์ มิลตัน โรเวอร์ส ทีมใน เวสเซ็กซ์ พรีเมียร์ลีก ที่อยู่ต่ำกว่าลีกสูงสุด 8 ระดับ คือหนึ่งในลีกระดับรากหญ้าที่ได้ทดลองใช้กฎ sin-bins แดน บิงส์ ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ได้กล่าวกับ GOAL ว่า

“sin-bins ใช้ไม่ได้ผลในระดับของเรา ไม่มีความสม่ำเสมอกับมันเลย หลายครั้งที่ผมเห็นผู้เล่นถูกส่งออกจากสนาม 10 นาที กลายเป็นเกิดอาการบาดเจ็บ หรือไม่ก็กลับลงมาแล้วทำฟาวล์ต่อเลย จริง ๆ เรื่องราวของผมกับผู้ตัดสินอาจไม่ค่อยดีนัก แต่ผมขอพูดตรง ๆ เลย มันเป็นระบบที่ไม่ช่วยอะไร”

“ความขัดแย้งเป็นปัญหา ใช่ ผมยอมรับสิ่งนั้น แต่การส่งใครสักคนออกไป 10 นาที นั้นไร้ประโยชน์ ถ้ามันแย่ขนาดนั้น ก็ให้ใบแดงพวกเขา แล้วปล่อยให้เกมดำเนินไปเถอะ”

ใบส้ม คือสิ่งที่ฟุตบอลต้องการจริง ๆ หรือ หากเรามองย้อนกลับไปในรายละเอียดของเกม ฟุตบอลมีการลงโทษอยู่แล้วถึง 4 ระดับ คือ ฟรีคิก จุดโทษ ใบเหลือง และใบแดง ดังนั้นการเพิ่มตัวเลือกที่ 5 เข้ามาจึงถูกตั้งคำถามว่าจำเป็นแค่ไหน แล้วจะช่วยเกมฟุตบอลอย่างไร

แน่นอนว่าข้อดีของการเพิ่มใบส้มเข้ามา จะช่วยจัดการกับผู้เล่นที่ไม่เคารพการตัดสิน และลดภาพจังหวะที่ผู้เล่นเข้าไปรุมผู้ตัดสินได้ แต่กรณีที่ว่าเป็นการทำฟาวล์ที่มากกว่าใบเหลือง แต่น้อยกว่าใบแดง ผู้ตัดสินมีเกณฑ์อย่างไรในการตัดสินใจ สิ่งนี้จะเข้ามาช่วยผู้ตัดสิน หรือจะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ตัดสิน

หากมีการทำฟาวล์น้อยลงเราอาจได้เห็นเกมฟุตบอลที่เปิดหน้าแลกกันมากขึ้น ทำประตูเยอะขึ้น เพราะจังหวะตัดฟาวล์ผู้เล่นเกมรุกนั้นจะกลายเป็นการถูกส่งออกจากสนาม 10 นาที หรืออาจกลายเป็นเกมฟุตบอลที่น่าเบื่อ ขาดสีสัน เพราะถูกควบคุมมากเกินไป

แค่การมีอยู่ของใบเหลือง-แดง ในหลายครั้งก็กลายเป็นประเด็นโต้แย้งมากพอแล้ว หากนำใบส้มเข้ามาเพิ่มเติม อาจต้องคำนึงถึงผลกระทบเรื่องคำวิจารณ์ที่อาจเพิ่มมากขึ้น และอีกประเด็นที่สำคัญ คือ อาการบาดเจ็บของผู้เล่นที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการต้องหยุดเล่นกะทันหัน แล้วต้องกลับไปลงเล่นอีกครั้ง โดยเฉพาะในฟุตบอลระดับสูงที่มีความเข้มข้นของเกมมากอยู่แล้ว การเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และพิจารณาอย่างละเอียด หากจะมีการนำมาทดลองใช้ในพรีเมียร์ลีก

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีวิวัฒนาการ ผ่านการเปลี่ยนแปลง แก้ไข และปรับปรุงอยู่ตลอด หากต้องการนำกฎนี้มาใช้จริง ๆ IFAB คงต้องร่างเกณฑ์การตัดสินไว้อย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งภายหลัง

 

 

 

หากท่านใดสนใจสมัครให้กดลิ้งนี้ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่…

https://member.ufafun88.fun/register/?s=google

หรือแอดไลน์

https://lin.ee/omb8BU5

บริการอื่นๆนอกเหนือจาก ใบส้ม!! มากกว่าเหลือง น้อยกว่าแดง

แชร์บทความนี้ให้เพื่อน

Facebook
Twitter
VK

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *