เล่นอย่างไร? เปิดตำราระบบกองหลัง 3 ที่แทรกซึมอยู่ในเกมฟุตบอลปัจจุบัน
อย่างที่ทราบกันดีว่าในโลกฟุตบอลยุคปัจจุบัน “ระบบแบ็กโฟร์” ถือเป็นแผนที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้น ๆ และมีกุนซือมากมายที่ใช้ระบบดังกล่าวกวาดความสำเร็จให้แก่สโมสร โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีมานี้คือ เยอร์เก้น คล็อปป์ ที่ขัดเกลา ลิเวอร์พูล ในระบบ 4-3-3 จนมีเกมรับที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีเกมรุกที่หลากหลาย
อย่างไรก็ตามมีอีกหนึ่งแผนการเล่นที่อาจได้รับความนิยมน้อยกว่าแต่สามารถมาใช้นำมาต่อกรกับ “ระบบแบ็กโฟร์” ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” ที่กุนซือจอมเคี่ยวอย่าง อันโตนิโอ คอนเต้ ชอบใช้งาน
“ระบบกองหลัง 3 ตัว” มีแนวทางการเล่นอย่างไร เวิร์คกว่า “ระบบแบ็กโฟร์” จริงหรือไม่ ร่วมติดตามไปพร้อมกัน
หลัง 3 อย่างง่าย
มีการสันนิษฐานว่า “ระบบกองหลัง 3 ตัว” เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ก่อนจะถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ จนบางครั้งเมื่อเกมใดที่ทีมอยากเน้นเกมรับจะออกมาในรูปแบบกองหลัง 5 ตัว โดยว่ากันว่าอิตาลี คือประเทศแรกที่ฟุตบอลของพวกเขาใช้ระบบกองหลัง 3 ตัวในรูปแบบ 3-5-2
ต่อมา “ระบบกองหลัง 3 ตัว” เริ่มถูกใช้งานแพร่หลายมากขึ้นแต่ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นแบบโต้ง ๆ ตัวอย่างเช่น การที่ โยฮัน ครัฟฟ์ จัดไลน์อัพทัพบาร์เซโลน่า ในรูปแบบ 4-3-3 แต่ชอบให้เซ็นเตอร์แบ็ก 1 คน ขยับขึ้นมาเป็นเหมือนกองกลางตัวรับอีกคน จนเกิดรูปแบบ 3-4-3 เวลาเป็นฝ่ายครองเกม
ระบบ 3-4-3 เป็นรูปแบบที่มีจุดเด่นเรื่องการโต้กลับ โดยใช้กองหลังตัวกลาง 3 คน, กองกลาง 2 คน, วิงแบ็กซ้าย ขวา ในขณะที่แผงเกมรุกสามคนสามารถยืดหยุ่นได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากที่จะได้เห็น “ระบบกองหลัง 3 ตัว” ใช้ผู้เล่นหมายเลข 10 สองคนทำงานร่วมกับศูนย์หน้าตัวเป้า หรือที่เรียกว่าระบบ 3-4-2-1
เกมรุก
วิงแบ็กมักเลือกใช้แข้งที่มีความเร็ว มีความฟิตสูง เนื่องจากต้องรับผิดชอบทั้งเกมรับและเกมรุก จุดแข็งของผู้เล่นตำแหน่งนี้คือการที่สนับสนุนผู้เล่นเกมรุกโดยการวิธีการวิ่งอ้อมหลัง หรือเติมขึ้นไปเปิดในพื้นที่สุดเส้น
เซ็นเตอร์แบ็ก ทั้ง 3 คนต้องมีคุณสมบัติสามารถบิวต์อัพเกมแนวลึกได้ดี โดยเมื่อเป็นฝ่ายครองบอลเซ็นเตอร์แบ็กคนใดคนหนึ่งจะขยับตัวเองขึ้นมาเพื่อ OverLoad พื้นที่ตรงกลางสนาม ส่งผลให้ทีมมีตัวเลือกการจ่ายบอลมากขึ้น หรือบางครั้งเซ็นเตอร์แบ็กเองนั่นแหละจะเป็นคนพาบอลขึ้นมาถึงพื้นที่สุดท้าย
คู่มิดฟิลด์มีบาทบาทในการเชื่อมเกมระหว่างแผงหลังและแนวรุก รวมถึงทำเกมด้านข้างร่วมกับวิงแบ็กทั้งสองฝั่ง ซึ่งในระหว่างที่ทำเกมโต้กลับ หรือต้องทำเกมรุก คู่มิดฟิลด์ จะมีเป้าหมายการจ่ายบอลอยู่ที่ศูนย์หน้า ก่อนที่จะวิ่งขึ้นมาสนับสนุน
ผู้เล่นเกมรุกสามคน อาจมีรูปแบบที่ไม่ตายตัวซึ่งอาจวางบทบาทเป็นกองหน้าสามคน กองหน้าตัวเป้าพร้อมกับเบอร์สิบสองคน หรือแม้แต่กองหน้าคู่ที่จะมีหนึ่งคนคอยวิ่งออกฉีกไปรับบอลด้านข้าง ในปัจจุบันอาจเห็นในได้บ่อยในรูปแบบกองหน้า ‘Flase 9’ หรือกองหน้าตัวหลอกที่จะคอยดรอปลงมารับบอลเพื่อดึงกองหลังให้หลุดจากตำแหน่ง
เกมรับ
เมื่อเวลาที่ทีมเป็นฝ่ายตั้งรับวิงแบ็กทั้งสองฝั่งจะทำการถอยลงต่ำจนกลายเป็นรูปแบบ 5-2-3 หรือ 5-4-1 มีหน้าที่คอยปิดเกมบุกของริมเส้น และหากต้องเพรสซิ่งบางครั้งวิงแบ็กอาจดันขึ้นไปสูงประชันหน้ากับวิงแบ็กซ้าย-ขวาฝ่ายตรงข้ามเลยทีเดียว
ด้วยความที่บางจังหวะวิงแบ็กทั้งสองฝั่งอาจต้องดันขึ้นสูงไปประกบคู่ต่อสู้จนทำให้พื้นที่หลังแบ็กว่าง เซ็นเตอร์แบ็กซ้าย-ขวา จึงต้องคอย Cover พื้นที่ดังกล่าว รวมถึงคอยชนกับกองหน้าเพื่อให้เซ็นเตอร์แบ็กคนสุดท้ายคอยเก็บกวาดและเล่นง่ายที่สุด
กองกลางทั้งสองตัวถือว่าเป็นหัวใจของเกมรับใน “ระบบกองหลัง 3 ตัว” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิงแบ็กหรือเซ็นเตอร์แบ็กไม่อยู่ในตำแหน่ง เพราะพวกเขาหนึ่งคนจะต้องเป็นคนที่ขยับไปรับผิดชอบแทนก่อน หรือการขยับเข้าไปบีบพื้นที่ลดระยะห่างระหว่างผู้เล่นในแต่ละแดน
กองหน้าสามคนจะเป็นด่านแรกที่คอย Delay การขึ้นเกมจากแผงหลังฝั่งตรงข้าม หรืออาจเป็นหัวหอกในการส่งสัญญาณเพรสซิ่ง
เจ้าพ่อหลัง 3
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในการใช้ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” และประสบความสำเร็จ คือ อันโตนิโอ คอนเต้ กุนซือชาวอิตาลี ที่พา เชลซี ครองความยิ่งใหญ่คว้าแชมป์ลีกภายในประเทศในครั้งล่าสุดของสโมสร (ฤดูกาล 2016-17) โดยเก็บได้มากถึง 93 คะแนน รวมถึงแชมป์เอฟเอ คัพ สมัยที่ 8 เมื่อฤดูกาล 2017-18
ซึ่ง ณ ตอนนั้น อันโตนิโอ คอนเต้ วาง ดิเอโก้ คอสต้า เป็นศูนย์หน้าตัวเป้า โดยมีผู้เล่นเกมรุกเทคนิคยอดอย่าง เปโดร, วิลเลี่ยน และ เอเดน อาซาร์ คอยสนับสนุน ซึ่ง คอนเต้ มีรูปแบบที่เขาใช้บ่อยคือให้บรรดาแนวรุกเคลื่อนที่รับบอลในแนวกว้างแล้วคอยทำเกมด้วยการเลี้ยงบอลตัดเข้าใน แล้วรอให้ผู้เล่นคนอื่น ๆ วิ่งสอดขึ้นมาจากแนวหลัง
คู่กลางที่ราวกับเป็นหัวใจสำคัญของระบบนี้ คอนเต้ มักเลือกใช้งาน เอ็นโกโล่ ก็องเต้ และ เนมานย่า มาติช แม้ว่า เชสก์ ฟาเบรกาส จะให้ทางเลือกทางเทคนิคมากกว่า เนื่องจากกองกลางคู่นี้มีความสมดุลเมื่อลงสนามพร้อมกันเล่นได้ดีทั้งเกมรับและรุก แต่สำหรับ เชสก์ ฟาเบรกาส คอนเต้ อาจมองว่าอาจด้อยในเรื่องของเกมรับ จึงเลือกที่จะเก็บไว้เป็นตีวทีเด็ดมากกว่า ขณะที่วิงแบ็กทั้งสองข้างเขาก็สามารถทำให้ มาร์กอส อลอนโซ่ และ วิคเตอร์ โมเซส ทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมในระบบ “ระบบกองหลัง 3 ตัว”
โธมัส ทูเคิ่ล ก็เป็นคนที่เปลี่ยน เชลซี ระบบหลังสี่ในยุค แฟรงค์ แลมพาร์ด มาเป็นการใช้ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” จนสามารถพา “สิงห์บลูส์” เถลิงบัลลังก์แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ครั้งที่สองในประวัติศาสตร์สโมสร ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากยุคคอนเต้ คือบางครั้งในตำแหน่งวิงแบ็ก ทูเคิ่ล จะส่งผู้เล่นเกมรุกจ๋าลงประจำการ เช่น คัลลัม ฮัดสัน-โอดอย ที่ถูกจับมาเล่นวิงแบ็กขวา ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้การสร้างเกมรุกไหลลื่นขึ้น
หรือ เมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ สมัยที่เป็นผู้จัดการทีมเซาแธมป์ตัน รวมถึง สเปอร์ส เขาก็ประยุกต์นำระบบกองหลังสามตัวมาสอดแทรกอยู่ในการเล่นของเขา โดยไลน์อัพตอนออกสตาร์ตจะปรากฏเป็นแผน 4-3-3 แต่พอเมื่อใดที่ สเปอร์ส เป็นฝ่ายครองเกมกองกลางตัวรับจะถอยลงมาอยู่หน้าเซนเตอร์ฮาล์ฟ แบ็กทั้งสองข้างจะกลายเป็นวิงแบ็ก ริมเส้นขยับเข้ามาแพคพื้นที่ตรงกลาง จนออกมาเป็นระบบ 3-4-3
นอกจากนี้ แกเร็ธ เซาธ์เกต ยังได้นำ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” มาใช้กับทีมชาติอังกฤษอีกด้วย โดยใช้ ไคล์ วอร์คเกอร์ ในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็กฝั่งขวาเหมือนกับที่ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ใช้งานแข้งอังกฤษรายนี้ในยูนิฟอร์มแมนเชสเตอร์ ซิตี้
หลัง 3 หรือ 4 อะไรดีกว่ากัน?
หลังจากที่มีสโมสรใช้ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” และประสบความสำเร็จ บุคลากรลูกหนังต่างออกมาถกเถียงว่า “หลัง 3 หรือ 4 อะไรดีกว่ากัน?” ซึ่งประเด็นนี้ผู้ที่เคยผ่านการลงเล่นในทั้งสองแผนการเล่นอย่าง แมตทิว อัปสัน และ โซลล์ แคมป์เบลล์ ได้เผยถึงความแตกต่างดังนี้
“ชีวิตของคุณจะมีระเบียบมากขึ้นเมื่อเล่นภายใต้ระบบกองหลังสี่ตัว ในฐานะเซ็นเตอร์แบ็ก คุณจะยืนคุมพื้นที่ที่แคบกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคู่ต่อสู้มีบอลและแบ็กทีมเราประกบอยู่” แมตทิว อัปสัน เล่าผ่าน The Athletic
“ซ้ำคุณอาจควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสนามได้มากขึ้นเช่นกัน คุณสามารถยึดตำแหน่งการยืนไว้กับฟูลแบ็กที่ใกล้ที่สุด และนั่นคือระยะทางที่เขาจะอยู่ห่างจากคุณ เช่นเดียวกับเซ็นเตอร์ฮาล์ฟคนอื่นๆ และกองกลางที่อยู่ข้างหน้า คุณรู้ว่าทุกคนอยู่ที่ไหน”
“ส่วนในแผนกองหลังสามตัวคุณต้องป้องกันพื้นที่ทั่วทั้งความกว้างของกรอบเขตโทษ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันมีการเล่นที่กว้างกว่าแบ็กโฟร์เล็กน้อย หากวิงแบ็กของคุณต้องเติมขึ้นสูง คุณจะต้องจัดการกับสถานการณ์ในช่องว่างหลังแบ็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
ขณะที่ โซลล์ แคมป์เบลล์ ได้แสดงความเห็นของตนเอง ว่า “เซ็นเตอร์ฮาล์ฟฝั่งซ้ายและขวาจะต้องเคลื่อนที่ได้ดี เว้นแต่ว่าทีมของคุณจะครองบอลและควบคุมจังหวะของเกม คนที่เล่นในตำแหน่งนั้นจะต้องเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยความเร็ว และความเป็นนักกีฬาเพื่อรับผิดชอบพื้นที่รอบตัวพวกเขา หากวิงแบ็กของคุณต้องขึ้นไปเติมเกม คุณจะต้องครอบคลุมพื้นที่ที่ว่างขณะที่แนวหลังขยับโล้ปิดพื้นที่”
“คุณจะถูกดึงดูดเข้าสู่สถานการณ์ดวลตัวต่อตัวกับผู้เล่นในตำแหน่งริมเส้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องเข้าไปในโซนนั้นและจัดการกับพวกเขา ดังนั้นคุณต้องสบายใจที่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น และแข็งแกร่งเมื่อเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ตัวต่อตัว”
อย่างไรก็ตามข้อดีของ “ระบบกองหลัง 3 ตัว” นั้นคือการที่สามารถสร้างความสมดุลที่ดีระหว่างการโจมตีด้วยวิธีการขยับเคลื่อนที่ไป Overload ผู้เล่นในแต่ละพื้นที่ของสนาม และยังเหมาะกับทีมที่เน้นการตั้งรับและโต้กลับ (Counter Attack) เนื่องจากแผนนี้จะมีช่องทางการวิ่งมาจากด้านหลังเยอะมาก ซึ่งเป็นรูปแบบการทำเกมรุกที่คู่ต่อสู้ป้องกันยาก
ทั้งนี้ไม่อาจตอบได้ว่า “ระบบกองหลัง 3 ตัว” จะดีกว่าระบบกองหลังสี่ตัวหรือไม่ เพราะผลลัพธ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแผนของผู้จัดการทีมเพียงอย่างเดียว แต่มันจะประกอบไปด้วยปัจจัยยิบย่อยนับไม่ถ้วน อย่างเช่น ช่วงเวลา คู่ต่อสู้ รวมถึงขุมกำลังผู้เล่น
หากท่านใดสนใจสมัครให้กดลิ้งนี้ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่…
https://member.ufafun88.fun/register/?s=google
หรือแอดไลน์