เข้าสู่ระบบสมาชิก

Login

สแตนลีย์ แมทธิวส์

สแตนลีย์ แมทธิวส์ : นักเตะผู้ถูกสงครามพรากช่วงเวลาที่ดีที่สุดของอาชีพ สู่ปีกพ่อมดผู้คว้าบัลลงดอร์ได้เป็นคนแรกของโลก

สแตนลีย์ แมทธิวส์ ได้ชื่อว่าเป็นนักเตะผู้สมบูรณ์แบบที่สุดในยุคสมัยนั้น เขายังเป็นต้นแบบของผู้เล่นที่เคร่งครัดเรื่องวินัยอย่างมาก อีกทั้งยังระมัดระวังในเรื่องอาหารการกินรวมถึงยังไม่ดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

เส้นทางนักเตะอาชีพของเขาเต็มไปด้วยเรื่องราวอันเป็นตำนานมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือช่วงที่ควรรุ่งเรืองที่สุดในวัย 24-30 ปี เขากลับถูกพรากไปโดยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทำให้เขาไม่อาจแสดงฝีมือที่ดีที่สุดออกมาได้

แต่ใครจะเชื่อว่านักเตะที่เลยจุดพีกไปแล้วอย่าง สแตนลีย์ แมทธิวส์ จะสามารถคว้ารางวัลบัลลงดอร์ได้เป็นคนแรกของโลก

เกิดอะไรขึ้นในช่วงนั้นบ้าง แมทธิวส์ทำอย่างไรในช่วงที่ไม่อาจเล่นฟุตบอลได้ จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักเตะระดับตำนานของอังกฤษได้สำเร็จ

ชายผู้ทำตามเสียงหัวใจตัวเอง

สแตนลีย์ แมทธิวส์ (Stanley Matthews) เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 1915 เขาเป็นลูกชายของแจ็ค แมทธิวส์ (Jack Matthews) ช่างตัดผมผู้มีอาชีพเสริมเป็นนักมวย ซึ่งได้ฝึกฝนลูกชายให้หัดชกมวยตั้งแต่ยังเด็ก อย่างไรก็ตามสแตนลีย์ไม่สนใจกีฬาชนิดนี้ เขายืนยันกับบิดาว่า

“มีเพียงสิ่งเดียวที่อยู่ในหัวใจของผม นั่นคือการเล่นฟุตบอล”

เช่นเดียวกับนักฟุตบอลดาวดังคนอื่น ๆ สแตนลีย์ฝึกหัดเล่นฟุตบอลตั้งแต่ยังเด็ก ด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ เขาจึงฝึกฝนอย่างเข้มข้นเพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเขาจริงจังกับกีฬาชนิดนี้มากแค่ไหน

แล้วโอกาสก็มาถึง ในปี 1921 แจ็คได้พาลูกชายวัย 6 ขวบไปทดสอบฝีเท้าที่วิคตอเรียกราวด์ (Victoria Ground) ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสรสโตค ซิตี้ (ตั้งแต่ปี 1878 ถึง 1997 ก่อนย้ายไป Britannia Stadium) มันเป็นการเปิดทดสอบฝีเท้าสำหรับเด็กอายุ 14 ปี แต่ด้วยอายุที่ยังน้อยและประสบการณ์ที่ไม่มากพอทำให้สแตนลีย์ไม่ผ่านการทดสอบในครั้งนั้น

แต่แทนที่จะจมปลักอยู่กับความผิดหวัง สแตนลีย์กลับมาฝึกซ้อมให้หนักขึ้น เขาเริ่มฝึกเลี้ยงลูกฟุตบอลรอบเก้าอี้ในสวนหลังบ้าน เพราะต้องการเทคนิคที่จะไม่สามารถมีใครมาแย่งบอลไปจากเท้าของเขาได้

แจ็ค แมทธิวส์ รู้ว่าไม่อาจขัดขวางความต้องการของบุตรชายได้ จึงยื่นคำขาดไปว่า

“หากแกเก่งพอที่จะเป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมนักเรียนอังกฤษได้ ฉันจะไม่ห้ามแกอีก”

 

 

คำพูดดังกล่าวปลุกเชื้อไฟในตัวสแตนลีย์ให้ลุกโชนด้วยความมุ่งมั่น เขาพัฒนาตัวเองจนได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนทีมนักเรียนอังกฤษ (England Schoolboys) ได้ในที่สุด

ซึ่งในปี 1929 ได้มีเกมอย่างเป็นทางการระหว่าง ทีมนักเรียนอังกฤษ กับ ทีมนักเรียนเวลส์ ท่ามกลางคนดูกว่า 20,000 คน วันนั้นสแตนลีย์ในวัย 13 ปี ถูกเลือกให้เล่นในตำแหน่งปีกขวา และเขาก็พาทีมชนะไปถึง 4-1 ชนิดเหนือกว่าทีมนักเรียนเวลส์ทุกอย่าง

สงครามที่ไม่อาจเลี่ยง

ด้วยผลงานที่โดดเด่นระหว่างแข่งขันฟุตบอลนักเรียนทำให้สแตนลีย์ได้รับความสนใจไปทั่วเกาะอังกฤษ มีทีมดังมากมายเข้ามาติดต่อขอให้เขาไปร่วมทีม เช่น วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส, เบอร์มิงแฮม ซิตี้, แอสตัน วิลลา และ เวสต์บรอมวิช อัลเบียน แต่สโมสรที่ได้ตัวเขาไปร่วมทีมจริง ๆ กลับเป็นสโมสรที่เคยปฏิเสธเขาในช่วงแรกอย่าง สโตค ซิตี้ เนื่องจากกล้าทุ่มเงินค่าจ้างให้สแตนลีย์วัย 15 ปีถึง 1 ปอนด์ต่อสัปดาห์

สแตนลีย์เข้าไปฝึกฝีเท้าในทีมสำรองของ สโตค ซิตี้ เป็นเวลา 3 ปี (1930 – 1932) กระทั่งอายุ 17 ปี เขาก็ได้รับสัญญาอาชีพกับทีมชุดใหญ่ในงานวันเกิดของตัวเองพอดี และเขายังได้รับค่าจ้างสูงสุด 5 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (3 ปอนด์ในช่วงพักร้อน) ซึ่งนักเตะหนุ่มตอบแทนความไว้ใจของต้นสังกัดได้อย่างคุ้มค่าด้วยการพาทีมคว้าแชมป์ดิวิชั่น 2 และเลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จในฤดูกาลนั้นทันที

แม้ว่าการขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 ของสโตค ซิตี้ จะมีผลงานที่ไม่สู้ดีนัก แพ้บ้างชนะบ้างและจบได้เพียงอันดับที่ 12 ของตารางในฤดูกาลแรก แต่ผลงานส่วนตัวของสแตนลีย์ก็ทำได้ค่อนข้างดี เขามีส่วนในการทำประตูสำคัญมากมาย รวมถึงเทคนิคการเล่นของเขาก็สวยงามราวกับมีเวทมนตร์ เขาสามารถดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาชมฟอร์มของเขาได้มากขึ้นเกือบทุกนัดที่ลงเล่น

ความยอดเยี่ยมของสแตนลีย์ทำให้มีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ โดยเขาทำแฮตทริกแรกได้ในชัยชนะเหนือ เชโกสโลวาเกีย 5 – 4 ในวันที่ 1 ธันวาคม ปี 1937

รวมถึงยังมีเกมที่สำคัญกับทีมชาติอังกฤษในเดือนพฤษภาคม ปี 1938 นัดที่อังกฤษสามารถเอาชนะ เยอรมันนี ต่อหน้า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ที่กรุงเบอร์ลิน 6-3 โดยเกมดังกล่าวมีผู้ชมกว่า 110,000 คน รวมทั้งบุคคลสำคัญของรัฐบาลเยอรมนี เช่น แฮร์มันน์ เกอริ่ง (Herman Goering) และ โจเซฟ เกิบเบลส์ (Joseph Goebbels) ซึ่งเป็นนายพลผู้ที่ฮิตเลอร์ไว้ใจมากที่สุด

ขณะที่กราฟชีวิตกำลังดิ่งทะยานถึงขีดสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ปะทุขึ้น มันเกิดขึ้นในเวลาที่สแตนลีย์แทบจะอยู่บนจุดสูงสุดในฐานะนักเตะอาชีพพอดี

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน ปี 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สั่งเคลื่อนทัพบุกโปแลนด์ ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน เนวิลล์ แชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ประกาศสงครามกับเยอรมนี และออกคำสั่งห้ามการชุมนุมของฝูงชน เป็นผลให้การแข่งขันฟุตบอลลีกในอังกฤษต้องยุติลงทันที

 

 

ตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ขณะที่ทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังสู่รบกับทหารฝ่ายอักษะอย่างดุเดือดอยู่นั้น สแตนลีย์ต้องพักการเล่นฟุตบอลอาชีพไปนานถึง 6 ปี (อายุ 24-30 ปี) และต้องเข้าร่วมกองทัพอากาศของอังกฤษ ซึ่งประจำการอยู่นอกเมืองแบล็คพูล

ช่วงเวลานี้สแตนลีย์ใช้ชีวิตท่ามกลางเสียงปืนและความหวาดกลัวของผู้คน แต่ก็ไม่ละทิ้งการเล่นฟุตบอล เขายังคงลงแข่งนัดกระซับมิตรเท่าที่ทำได้ เพื่อรอคอยโอกาสหวนคืนสู่สนามอีกครั้งเสมอ

แชมป์ที่ได้มาอย่างยากเย็น

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร โลกก็เข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ สแตนลีย์ไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในสโมสรสโตค ซิตี้ อีกต่อไป เนื่องจากต้องการให้ทีมพัฒนาไปสู่การคว้าแชมป์ลีกหรือเอฟเอคัพอย่างเร็วที่สุด รวมถึงเขายังมีอาการบาดเจ็บอยู่บ่อยครั้ง ด้วยอายุที่มากขึ้นทำให้เขาเริ่มตกเป็นตัวสำรองอยู่บ่อยครั้ง เขาจึงเริ่มมีปากเสียงกับเพื่อนร่วมทีมและมักทะเลาะวิวาทกับโค้ชอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้เขาถูกปลดออกจากทีมสโตค ซิตี้ ในฤดูกาล 1946-47 สร้างความประหลาดใจต่อแฟนบอลเป็นอย่างมาก

กล่าวกันว่าสาเหตุที่สแตนลีย์ต้องการคว้าแชมป์เอฟเอคัพด้วยความทะเยอทะยานนั้นเกิดขึ้นจากการรับคำขอสุดท้ายของ แจ็ค แมทธิวส์ บิดาผู้ล่วงลับซึ่งคอยสนับสนุนให้เล่นฟุตบอลมาโดยตลอด และอยากเห็นเขาคว้าแชมป์สักครั้งหนึ่งในชีวิต

แม้ว่า แจ็ค แมทธิวส์ จะเสียชีวิตก่อนได้มีโอกาสเห็นบุตรชายคว้าแชมป์ แต่สแตนลีย์ก็ทำตามคำขอสุดท้ายของบิดาด้วยความมุ่งมั่น เขามองหาทีมที่มีโอกาสคว้าแชมป์เอฟเอคัพ แม้จะมีหลายทีมในอังกฤษที่สนใจจะดึงปีกพ่อมดรายนี้ไปร่วมทีม แต่สุดท้ายสแตนลีย์กลับเลือกทีมอย่าง แบล็คพูล

วันที่ 10 พฤษภาคม ปี 1947 แมทธิวส์ย้ายไปแบล็คพูลด้วยราคา 11,500 ปอนด์ นี่คือเงินก้อนใหญ่ที่จ่ายให้กับนักเตะอายุ 32 ปีและถือว่าผ่านจุดที่ดีที่สุดไปแล้ว แต่อย่างไรก็ดีผู้จัดการทีมอย่าง โจ สมิธ (Joe Smith) ก็รู้สึกยินดีต่อการมาของสแตนลีย์อย่างยิ่ง

ฤดูกาล 1947-48 สแตนลีย์ระเบิดฟอร์มด้วยการพา แบล็คพูล เอาชนะ เชสเตอร์ (4-0), โคลเชสเตอร์ยูไนเต็ด (5-0), ฟูแล่ม (2-0), ท็อตแนม ฮอตสเปอร์ (3-1) จนสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามแม้จะเข้าใกล้เส้นชัยอีกเพียงก้าวเดียว แต่แบล็คพูลกลับแพ้ให้กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 4-2 กระนั้นแมทธิวส์ก็เล่นได้ดี เขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอล (FWA) เป็นครั้งแรกให้กับตัวเองได้สำเร็จ

ในฤดูกาล 1950-51 แบล็คพูลจบอันดับที่ 3 ในฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่ง แต่สแตนลีย์พาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ ได้เป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ยังแพ้ให้กับ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด 2-0 ไปอย่างน่าเสียดาย

จนกระทั้งฤดูกาล 1952-53 สแตนลีย์ แมทธิวส์ ในวัย 38 ปี ก็พาทีมเข้าชิงเอฟเอคัพได้เป็นหนที่ 3 ในรอบ 5 ปี และในครั้งนี้ทีมของเขาต้องเผชิญหน้ากับ โบลตัน วันเดอเรอร์ส ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หลังเปิดเกมมาได้เพียง 75 วินาที โบลตันก็ยิงขึ้นนำไปก่อน 1-0 จาก นาธาเนียล ลอฟต์เฮาส์ (Nathaniel Lofthouse) ก่อนที่ สแตน มอร์เทนเซ่น (Stan Mortensen) จะยิงให้แบล็คพูลตามตีเสมอได้ 1-1 ในนาทีที่ 35 อย่างไรก็ดี เพียง 55 นาทีแรกของการแข่งขันโบลตันก็มีสกอร์ทิ้งห่างไปถึง 3-1

แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้น เมื่อ สแตน มอร์เทนเซ่น เพื่อนร่วมทีมของแมทธิวส์ตะบันเพิ่มอีก 2 ลูก (นาที 68′, 89′) ซึ่งเป็นแฮตทริกแรกและแฮตทริกเดียวที่เกิดขึ้นในนัดชิงฟุตบอลถ้วยนี้ ช่วยให้แบล็คพูลไล่ตาม 3-3 เท่านั้นยังไม่พอ บิล เพอร์รี (Bill Perry) ยิงประตูปิดกล่องในนาทีที่ 90+2′ ส่งให้แบล็คพูลเก็บชัยชนะเหนือโบลตันวันเดอเรอร์ส 4-3 คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ได้อย่างยิ่งใหญ่

รอบชิงชนะเลิศหนนี้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รอบชิงของแมทธิวส์” และถึงแม้สแตนลีย์จะไม่มีชื่อในการทำประตูเลยสักลูกเดียว แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการทำประตูเกือบทุกลูกที่เกิดขึ้นของทีม รวมถึงการแอสซิสต์ให้ สแตน มอร์เทนเซ่น ยิงได้อีก 1 ลูกอีกด้วย

หลังจบเกมนั้น จิมมี่ อาร์มฟิลด์ (Jimmy Armfield) หนึ่งในเพื่อนร่วมทีมของสแตนลีย์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า

“เป็นช่วงเวลาที่ดีมากสำหรับเราในตอนนั้น มอร์ตี้ (หมายถึงสแตน มอร์เทนเซ่น) มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอ่อนและต้องเข้ารับการผ่าตัดก่อนเกมไม่กี่สัปดาห์ เขาไม่ค่อยได้ฝึกซ้อม แต่เขาก็ออกมาและทำแฮตทริกได้ และที่น่าสนใจคือสแตนลีย์ยืนกรานเสมอว่าเขาได้รับคำชมมากเกินไปสำหรับการเล่นของเขาในวันนั้น เพราะผู้คนเรียกเกมนั้นว่า Mortensen Final”

 

นักเตะบัลลงดอร์คนแรกของโลก

สามปีต่อมา สแตนลีย์ในวัย 41 ปี ช่วยให้แบล็คพูลได้รองแชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง แม้เขาจะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังเป็นดาวเด่นให้กับทีมเสมอมา

นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เล่นคนสำคัญของทีมชาติอังกฤษ ที่ช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ British Home Championship โดยชนะทั้ง สกอตแลนด์, เวลส์ และ ไอร์แลนด์

การเล่นฟุตบอลของเขาดึงดูดผู้คนได้เสมอ ด้วยเหตุนี้เขาจึงมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วยุโรป จนกระทั้งในปี 1956 ซึ่งเป็นปีแรกที่ France Football ริเริ่มจัดรางวัลบัลลงดอร์ (Ballon d’Or) ขึ้น

โดยสแตนลีย์ ได้รับการโหวตจากนักข่าวทั่วยุโรปให้เป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในทวีป เขาคว้ารางวัลบัลลงดอร์เหนือนักเตะยอดเยี่ยมตลอดกาลอย่าง อัลเฟรโด ดิ สเตฟาโน่ (Alfredo Di Stefano), เรย์มอนด์ โคปา (Raymond Kopa) หรือแม้แต่ เฟเรนซ์ ปุสกัส (Ferenc Puskas)

เขายังครองสถิติเป็นผู้เล่นอังกฤษที่อายุมากที่สุด โดยเล่นเกมสุดท้ายให้ทีมชาติอังกฤษในปี 1957 ขณะอายุ 42 ปี หรือหนึ่งปีหลังจากคว้าบัลลงดอร์

สแตนลีย์เป็นนักเตะที่รักษาสภาพร่างกายตัวเองได้ดีเสมอ เขาสามารถเล่นบนลีกสูงสุดของอังกฤษได้จนกระทั่งอายุ 50 ปี ซึ่งเป็นสถิติที่ยังไม่มีนักเตะคนไหนสามารถทำลายได้จนถึงปัจจุบันนี้

สแตนลีย์ได้รับตำแหน่งอัศวินในปี 1965 และยังเป็นชายคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าสู่หอเกียรติยศฟุตบอลอังกฤษในปี 2002 เพื่อเป็นเกียรติแก่หนึ่งในนักฟุตบอลอาชีพที่เป็นตำนานในประวัติศาสตร์ฟุตบอล

สแตนลีย์ แมทธิวส์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี 2000 เมื่ออายุได้ 85 ปี หลังจากล้มป่วยขณะพักผ่อนในเตเนรีเฟ เขาได้รับเกียรติในฐานะผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการรักษาสภาพร่างกายอย่างมืออาชีพ และเป็นตำนานของเกมฟุตบอลตลอดกาล

 

 

 

หากท่านใดสนใจสมัครให้กดลิ้งนี้ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่…

https://member.ufafun88.fun/register/?s=google

หรือแอดไลน์

https://lin.ee/omb8BU5

บริการอื่นๆนอกเหนือจาก สแตนลีย์ แมทธิวส์

แชร์บทความนี้ให้เพื่อน

Facebook
Twitter
VK

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *