พิสูจน์ตามหลักจิตวิทยา : ทำไมนักฟุตบอลจึงยิงโล่ง ๆ ไม่เข้า ?
จังหวะจบสกอร์อันเด็ดขาด เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ยอดแข้งลูกหนังต้องมีติดตัว กองหน้าเลื่องชื่อหลาย ๆ ราย จึงมอบเวลาที่มีให้กับการฝึกซ้อมยิงประตูเพื่อความช่ำชองในการทะลวงตาข่ายให้มากที่สุด
แต่เราก็ยังได้เห็นความผิดพลาดของนักเตะระดับโลก ทั้ง ดาร์วิน นูนเญซ ที่ยิงหน้าปากประตูไม่เข้า หรือ เกมแดงเดือดที่ผ่านมาที่ มาร์คัส แรสฟอร์ด ได้ยิงหลุดเสาช่วงก่อนจบเกมชนิดที่แฟนบอลต้องกุมหัว
โล่ง ๆ แบบนั้นทำไมยิงไม่เข้า จะด้วยความกดดันหรืออย่างไรก็ตามที เราจึงใคร่ชวนทุกท่านหาคำตอบของคำถามนี้ด้วยศาสตร์แห่งจิตวิทยาไปพร้อมกัน
มนุษย์เกิดมาคู่กับ “ความผิดพลาด”
ความผิดพลาดของมนุษย์สามารถอธิบายด้วย หลักคิด Human error (ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์) โดยบทความวิจัยประจำคณะนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายไว้ว่า Human error ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในทุกย่างก้าวของชีวิต แถมการเรียนรู้ รับรู้ รวมถึงพฤติกรรมทั้งหลายก็สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดได้ทั้งสิ้น ซึ่งผลลัพธ์ของความผิดพลาดก็คือสิ่งที่เราไม่ประสงค์จะให้เกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงอาจแบ่ง ความพลาดพลั้งเหล่านี้เป็นดังนี้ (1) การไม่กระทำเมื่อถึงเวลาต้องกระทำ (2) การกระทำเมื่อไม่ต้องการให้กระทำ (3) การกระทำที่ไม่ถูกต้อง (4) การกระทำที่ไม่ทำตามขั้นตอนการทำงาน และ (5) การกระทำที่ล่าช้า
Human error จึงหมายความว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์จากการกระทำต่าง ๆ และให้ผลลัพธ์ไม่เป็นตามที่หวังหรือไม่คาดคิด
ซึ่ง เจมส์ รีสันส์ อาจารย์แผนกจิตวิทยา ประจำมหาวิทยาแมนเชสเตอร์ ได้จำแนกชนิดของความผิดพลาดของคนไว้ถึง 4 ชนิด ประกอบด้วย
1. การพลั้งเผลอ (Slips) เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจจะใช้วิธีที่ถูกต้องและให้ได้ผลที่คาด แต่ในความเป็นจริงกลับปฏิบัติไม่ได้อย่างที่คิดไว้ ซึ่งการปฏิบัติแบบนั้นเกิดจากความไม่ตั้งใจและไม่รู้ตัว แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีความคิดและวิธีทำที่ถูกต้อง เช่น ขณะที่เพื่อนกำลังจะส่งบอลมาให้เราหน้ากรอบเขตโทษ เรามีความคิดที่จะยิงแบบไม่ต้องจับ โดยให้ลูกบอลเข้าไปแบบเลียดพื้น แต่เอาเข้าจริงพอบอลมาถึงตัว เรากลับยิงช้อนใต้ลูกจนข้ามคานออกไป
2. การหลงลืม (Lapses) ความผิดพลาดจากการลืม ซึ่งเกิดขึ้นจากความจำที่หายไปในขณะนั้นจนทำให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การลืมล็อครถ เป็นต้น
3. การทำพลาด (Mistakes) เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการตั้งใจกระทำให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแต่วิธีการไม่ถูก โดยที่ผู้กระทำเข้าใจว่าวิธีที่ปฏิบัติเป็นสิ่งที่ควรแล้ว เช่นความผิดพลาดง่าย ๆ ในการที่จะหมุนลูกบิดประตูไปทางขวาเพื่อให้ประตูเปิดได้ แต่กลายเป็นว่าวิธีที่ถูกคือการหมุนลูกบิดไปทางซ้ายในการเปิดประตู สังเกตุเห็นได้ว่าแม้วิธีการจะพลาดแต่วิธีการนั้นเราเข้าใจว่าเป็นวิธีที่จะนำไปสู่ความถูกต้อง เพียงแต่มันผิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ที่ไม่เพียงพอ เหล่านี้จึงเป็นนิยามของการทำพลาด
4. การฝ่าฝืน/ละเมิด (Violation) คือการละเมิดกฎ ความผิดพลาดประเภทนี้คเป็นผลมาจากการกระทำที่ตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามแนวทางหรือระเบียบกติกาที่วางไว้(ดื้อ ) ซึ่งไม่ถือเป็นความผิดพลาดของมนุษย์โดยธรรมชาติ หรือเรียกว่าตั้งใจให้พลาดก็ได้
ถ้าเรามามองในแง่จิตวิทยาที่ว่าด้วยความพลาดนี้แล้วนั้น จังหวะจบสกอร์ที่พลั้งพลาดจากการหลุดเดี่ยว ก็นับว่าตรงกับ 2 ข้อ คือความพลั้งเผลอ และการทำพลาด โดยการทำพลาดเกิดจากทักษะที่ยังมีไม่มากพอ ต้องฝึกเพิ่ม แต่ความพลั้งเผลอเป็นความผิดพลาดที่เกี่ยวกับสมาธิที่ไม่มั่นคงอันเกิดจากความเครียดอยู่ด้วย เราจึงขอโฟกัสกับเรื่องสมาธิกันต่อ เพราะแข้งส่วนใหญ่ล้วนมีทักษะพอสมควรอยู่แล้ว
ความเครียดมีผลต่อสมาธิ
สมาธิที่ดีนับว่าเป็นอาวุธที่ขาดไม่ได้ในเกมกีฬาที่ห้ำหั่นกันตลอดเกือบ 100 นาที นักเตะต้องใช้เพื่อเพ่งพิจารณาจังหวะการเล่นอยู่เสมอ จะยิง จะส่ง จะทำอะไรก็ต้องคิด ถ้าสมาธิไม่นิ่งพอความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้น ยิ่งความดุเดือดจากเสียงของกองเชียร์ก็ ความกดดัน อารมณ์ที่บีบคั้น ล้วนมีส่วนให้เกิดความเครียดที่ส่งผลต่อสมาธิ
โดยความเครียด ในทางจิตวิทยาหมายถึง อาการที่เป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายจิตใจและสติปัญญาต่อสิ่งที่มาคุกคาม เป็นภาวะชั่วคราวของความไม่สมดุล ซึ่งเกิดกระบวนการรับรู้หรือการประเมินของบุคคลที่มีต่อสิ่งที่เข้ามาในประสบการณ์ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งคุกคาม โดยที่การรับรู้หรือการประเมินนี้เป็นผลมาจากการกระทำร่วมกันของสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมในสังคม การทำงาน ธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต กับปัจจัยภายในบุคคลอันประกอบด้วย เจตคติ อารมณ์ ลักษณะประจำตัว ประสบการณ์ในอดีต ตลอดจนความต้องการของบุคคลนั้น
หากท่านใดสนใจสมัครให้กดลิ้งนี้ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่…
https://member.ufafun88.fun/register/?s=google
หรือแอดไลน์