พรีเมียร์ลีก : การเยียวยาและดูแลนักเตะเยาวชนผู้ไปไม่สุดในระบบอคาเดมี
ที่ผ่านมาแฟน ๆ พรีเมียร์ลีกอาจเคยเห็น มาร์คัส แรชฟอร์ด แจ้งเกิดในเส้นทางลูกหนังจากสถานการณ์ที่แกนหลักของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฤดูกาล 2015-16 พร้อมใจกันบาดเจ็บ ทำให้ หลุยส์ ฟาน กัล กุนซือในเวลานั้นดันดาวรุ่งรายนี้ขึ้นมาจากศูนย์ฝึกเยาวชนของสโมสร ก่อนจะทำผลงานเด่นและสถาปนาตัวเป็นกำลังสำคัญของทีมจวบจนปัจจุบัน
หรือแม้แต่การที่ เชลซี เคยดันดาวรุ่งเป็นฟันเฟืองหลักในการสู้ศึกพรีเมียร์ลีก 2019-20 จากเหตุผลที่สโมสรโดนแบนห้ามซื้อนักเตะ แถมยังจบฤดูกาลด้วยอันดับสี่
ตัวอย่างที่ว่ามานี้ล้วนแต่เป็นเรื่องทิศทางบวก ในส่วนของดาวรุ่ง นี่คือฝันของใครหลาย ๆ คนกับการได้ลงเล่นให้ทีมซีเนียร์และได้เล่นอาชีพในลีกระดับท็อป ขณะที่สโมสรเองก็ได้เครดิตจากการปลุกปั้นนักเตะตัวเองสู่สารบบลูกหนังได้อย่างเต็มภาคภูมิ
อย่างไรเสีย เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่านักฟุตบอลระดับเยาวชนจากอคาเดมีสโมสรฟุตบอลในอังกฤษจะก้าวขึ้นมาเป็นนักเตะอาชีพได้ทุกคน และในทางกลับกันก็มีนักเตะจำนวนไม่น้อยที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน หลายคนถูกปล่อยตัวในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต จนกลายเป็นคำถามที่ตามมาว่าพวกเขาเหล่านี้จะก้าวเดินไปในเส้นทางใดต่อ
กระนั้น ไม่ใช่ว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกเพิกเฉยแต่อย่างใด ไม่ใช่ว่าหน่วยงานลูกหนังใหญ่ระดับประเทศจะปล่อยให้กลุ่มนักเตะเหล่านี้เคว้งคว้างไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะกับพรีเมียร์ลีกที่มีโครงการพิเศษที่ชื่อ ‘Premier League Preparation Programme’
ที่มา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวที่เปิดโอกาสให้เหล่าเยาวชนผู้ที่เคยอกหักจากอคาเดมีสโมสรได้มาเป็นส่วนหนึ่ง ปรากฏให้เห็นในทิศทางใดบ้าง และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการพิเศษนี้บอกอะไรกับเรา
ฝันที่ยังไปไม่ถึงฝั่ง
เป็นที่เข้าใจกันดีว่า “ฟุตบอล” คือกีฬามหาชนของอังกฤษชนิดที่ไม่ต้องมีสถิติหรือตัวเลขใด ๆ มาอ้างอิง กีฬาลูกหนังใบกลมนี้ผูกโยงกับชีวิตประจำวันของอิงลิชชนอย่างยากจะปฏิเสธ
สำหรับตัวอย่างหลัง ใช่ว่าทุกคนจะก้าวสู่สารบบตามที่ตัวเองใฝ่ฝันได้หมด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทั้งเรื่องโอกาสในพื้นที่ของทีมชุดใหญ่มีอยู่อย่างจำกัด พฤติกรรม ทัศนคติส่วนตัวที่มีอันให้ไม่ได้ไปต่อ หรือแม้แต่อาการเจ็บที่เข้ามาพรากเส้นทางลูกหนังตั้งแต่ยังเป็นดาวรุ่ง ฯลฯ
เหตุผลที่ว่ามานี้แปรเปลี่ยนให้เยาวชนที่เทียบช่วงชีวิตกับไทยคือเด็กมัธยมต้นถึงมัธยมปลายจำนวนไม่น้อยถูกอคาเดมีที่สังกัดประกาศแยกทาง จนเปรียบได้ดั่งภาพของการลอยคอท่ามกลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไม่มีผิด
ในปี 2022 พรีเมียร์ลีกมีข้อมูลสำคัญซึ่งเกี่ยวโยงกับสถานการณ์ดังกล่าว นั่นคือข้อค้นพบที่ว่า นักเตะเยาวชนจากอคาเดมีชั้นนำของอังกฤษกว่าร้อยละ 97 ไม่เคยเล่นฟุตบอลลีกสูงสุดแม้แต่นาทีเดียว
หรือถ้าจะให้ย้อนไปไกลกว่านั้น (ปี 2020) เคยมีกระแส “0.012%” หรือตัวเลขที่งานวิจัยหนึ่งระบุว่า เป็นจำนวน ของนักเตะอคาเดมีที่เติบโตขึ้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกและสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้จากอาชีพนี้ได้
ขณะที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง Football Family มีชุดข้อมูลสำคัญที่ระบุว่า ในแต่ละปีจะมีนักเตะอายุระหว่าง 8 ถึง18 ปี ซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่า 10,000 คน ถูกทีมอคาเดมีลูกหนังปล่อยตัว และเยาวชนกลุ่มนี้ก็เลือนหายไปจากสารบบฟุตบอล
เพื่ออธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างกรณีของ อารอน มอร์แกน เขาเคยมีดีกรีเป็นอดีตนักเตะเยาวชนของทั้ง วัตฟอร์ด และ ควีนพาร์ค เรนเจอร์ส อย่างไรเสีย เพราะอาการบาดเจ็บอย่างหนักหน่วงที่เข้ามาเล่นงานตั้งแต่สมัยนั้น ทำให้มอร์แกนถูกปล่อยตัวออกจากอคาเดมีของทีมคิวพีอาร์ และที่สำคัญมันเกิดขึ้นกับตัวเขาในวัยเพียง 18 ปี
“ในฐานะนักฟุตบอลอายุน้อย ทุกคนล้วนแต่ขายฝันแบบเดียวกัน ถ้าคุณทำงานหนัก คุณก็จะได้มันมา แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปหรอก มีเด็กหลาย ๆ คนเผชิญกับเรื่องราวเหล่านี้ จิตใจของแต่ละคนค่อย ๆ ถูกพลัดพรากไป” อารอน ซึ่งปัจจุบันทำงานเป็นวิศวกรและทำธุรกิจส่วนตัว เล่าให้เห็นภาพของนักเตะดาวรุ่งผู้ถูกทีมฟุตบอลอาชีพเปลี่ยนเส้นทางชีวิตขณะอยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
“นั่นเป็นเรื่องที่ต้องจัดการ ผมรู้ดีว่ามีนักเตะที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับที่ผมเคยเจอ มันเกิดขึ้นทุก ๆ ปี และมีจำนวนไม่น้อยที่ลงเอยไปกับอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด”
เมื่อฝันวัยเด็กที่อยากเป็นนักเตะอาชีพถูกพรากไป เรื่องนี้มันส่งผลใหญ่ถึงสภาพจิตใจของเขามาจนทุกวันนี้ ถึงขั้นที่ว่าเขาเคยปฏิเสธข้อเสนอของ เชลซี ที่เคยติดต่อให้ลูกชายของเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอคาเดมีถึงสามครั้งสามครา
คำถามที่ตามมากับสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตบรรดาเยาวชนผู้ถูกพรากโอกาสคือ พวกเขาจะวางแผนอนาคตของตัวเองไปในทิศทางใดต่อ
และเพื่อให้ใครหลายคนฉุกคิดถึงชีวิตในกาลหน้า เพื่อให้คนรุ่นเยาว์กลุ่มนี้กลับมาตั้งหลักได้ใหม่อีกครั้ง หนึ่งในหน่วยงานลูกหนังดังของอังกฤษอย่าง พรีเมียร์ลีก ไม่ละเลยกับปัญหานี้ นำมาซึ่งการจัดตั้งโปรแกรมพิเศษ ‘Premier League Preparation’
ไม่ลืมใครไว้ข้างหลัง
“สุขภาพจิตเป็นส่วนสำคัญของโครงการเรา การถูกปล่อยตัวหรือถูกคัดออกจากสารบบนั้นมันเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะสำหรับพวกเขา มันคือความพ่ายแพ้” เดวิด เรนฟอร์ด หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและส่วนงานการดูแลผู้เล่นอคาเดมีของพรีเมียร์ลีก ย้ำถึงความสำคัญของโครงการ
“เราต้องให้คำแนะนำกับพวกเขา (เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ) ว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบนี้ไปทั้งหมด มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเดินทางบนเส้นทางฟุตบอล”
“ฟุตบอลไม่ได้เดินเป็นเส้นตรง การออกจากสโมสรก็เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในเส้นทางลูกหนังสำหรับนักเตะหลาย ๆ คน พวกเขายังคงเป็นส่วนหนึ่งของสารบบฟุตบอลที่กว้างออกไป นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น มันช่วยให้พวกเขากลับมามั่นใจในตัวเอง ให้กลับมาจากเรื่องแย่ ๆ ที่ต้องเผชิญ”
Premier League Preparation Programme เป็นโปรแกรมพิเศษที่ทางพรีเมียร์ลีกให้โอกาสกับเหล่านักเตะเยาวชนอายุระหว่าง 16 ถึง 21 ปี ซึ่งถูกอคาเดมีสโมสรฟุตบอลปล่อยตัว เรียกง่าย ๆ คือไม่ถูกปลุกปั้นต่อ หรือไม่ก็ไม่ได้รับโอกาสเซ็นสัญญาเป็นนักฟุตบอลอาชีพเข้ามาอยู่ร่วมกันภายในแคมป์พิเศษที่กินเวลาราวหนึ่งสัปดาห์
แคมป์ดังกล่าวถูกจัดขึ้นอย่างเป็นระบบ บรรดาแข้งรุ่นเยาว์นี้จะได้สัมผัสทั้งประสบการณ์จากในและนอกสนาม กล่าวคือ ทุกคนจะได้ลงซ้อมฟุตบอลร่วมกัน ได้ลงทีมแข่งขัน มีเวลาจัดสรรเรื่องการพักผ่อนและอาหารการกินที่เหมาะสม พร้อม ๆ กับได้รับการแนะแนวเรื่องแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต เซสชั่นเรื่องการพูดคุยเรื่องสภาพทางจิตใจ ไปจนถึงสัมมนาพิเศษจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมลูกหนัง ฯลฯ
โดยปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่ 6 ของการจัดตั้งโครงการพิเศษดังกล่าว มีเยาวชนร่วมโครงการ 42 คน และแขกรับเชิญพิเศษในรอบนี้คือ เวสต์ มอร์แกน อดีตดาวเด่นพรีเมียร์ลีก ผู้ที่เคยถูก น็อตต์ส เคาน์ตี้ ปล่อยตัวจากระบบอคาเดมีในวัย 15 ปี ก่อนที่ช่วงเวลาเกินทศวรรษต่อจากนั้นเขาจะเป็นคนนำทัพเลสเตอร์ ซิตี้ ชูโทรฟี่พรีเมียร์ลีกสมัยแรกในประวัติศาสตร์สโมสร เมื่อซีซั่น 2015-16
แคมป์ดังกล่าวถูกจัดขึ้นอย่างเป็นระบบ บรรดาแข้งรุ่นเยาว์นี้จะได้สัมผัสทั้งประสบการณ์จากในและนอกสนาม กล่าวคือ ทุกคนจะได้ลงซ้อมฟุตบอลร่วมกัน ได้ลงทีมแข่งขัน มีเวลาจัดสรรเรื่องการพักผ่อนและอาหารการกินที่เหมาะสม พร้อม ๆ กับได้รับการแนะแนวเรื่องแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต เซสชั่นเรื่องการพูดคุยเรื่องสภาพทางจิตใจ ไปจนถึงสัมมนาพิเศษจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมลูกหนัง ฯลฯ
โดยปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่ 6 ของการจัดตั้งโครงการพิเศษดังกล่าว มีเยาวชนร่วมโครงการ 42 คน และแขกรับเชิญพิเศษในรอบนี้คือ เวสต์ มอร์แกน อดีตดาวเด่นพรีเมียร์ลีก ผู้ที่เคยถูก น็อตต์ส เคาน์ตี้ ปล่อยตัวจากระบบอคาเดมีในวัย 15 ปี ก่อนที่ช่วงเวลาเกินทศวรรษต่อจากนั้นเขาจะเป็นคนนำทัพเลสเตอร์ ซิตี้ ชูโทรฟี่พรีเมียร์ลีกสมัยแรกในประวัติศาสตร์สโมสร เมื่อซีซั่น 2015-16
สู่ชีวิตใหม่
ด้วยการที่โครงการพิเศษจากพรีเมียร์ลีกนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาถึง 6 ปีแล้ว แน่นอนว่ากลุ่มยังบลัดฟุตบอลที่เคยสมัครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ หลายคนก้าวพ้นจากเรื่องลบ ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง พร้อม ๆ กับมีชีวิตใหม่ที่สดใสไม่น้อยหน้ากัน
มอร์แกน บราวน์ เด็กจากเลสเตอร์ เคยถูก อเบอร์ดีน ทีมดังแห่งสกอตติช พรีเมียร์ลีก ปล่อยตัวพ้นทีมในปี 2019 และในปีนั้นเองเขาตัดสินใจเข้าร่วมโครงการของพรีเมียร์ลีก
กาลต่อมา เขาตัดสินใจเลือกความสุขกับการเป็นพ่อค้าแข้งอาชีพต่อ หากแต่เป็นลีกอาชีพที่ไม่ได้ถูกสปอตไลต์สาดส่องเหมือนในอดีตคือที่ไซปรัส
มากไปกว่านั้น เขาเพิ่งพา อาริส ลิมาสโซล ต้นสังกัดปัจจุบัน เถลิงบัลลังก์แชมป์ลีกสูงสุดมาครองได้อย่างเต็มภาคภูมิ เช่นเดียวกับเกียรติยศเล็ก ๆ อย่างการลงเล่นในเกมที่ทีมเอาชนะ กลาสโกว์ เรนเจอร์ส ทีมชั้นนำของสกอตแลนด์ 2-1 ในรอบแบ่งกลุ่มยูโรป้า ลีก ฤดูกาล 2023-24 มาแล้ว
แดเนียล จีนาดู ผู้ไม่ได้ไปต่อกับสโมสรบาร์นส์ลี่ย์ แต่ภายหลังจากที่เข้าค่ายพิเศษของพรีเมียร์ลีก เขาตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยอีสต์ลอนดอน แถมได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของรายการพอดแคสต์ Beyond Football ที่พูดคุยเกี่ยวกับชีวิตนอกสนามฟุตบอลเป็นหลัก
เช่นเดียวกับ มาร์ติน โอนัวบักเบ้ ผู้เคยสวมปลอกแขนกัปตันทีมคริสตัล พาเลซ ชุดเยาวชน ทว่ากลับถูกทีมในฝันของตัวเองยกเลิกสัญญาในปี 2019
ภายหลังที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เขาพาตัวเองเข้าสู่ระบบการศึกษา ก่อนจะไปสำเร็จการศึกษาสาขาจิตวิทยาการกีฬา ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แมรี่ และในเวลานี้โอนัวบักเบ้ยังเล่นฟุตบอลนอกลีกแบบเอาให้หายคิดถึงเกมฟุตบอลไปด้วย
ขณะที่เพื่อนร่วมโครงการในปีเดียวกันกับ มาร์ติน โอนัวบักเบ้ อย่าง สกอตต์ อาร์มสเวิร์ธ อดีตเด็กในคาถาของฟูแล่ม ก็ขอกลับไปนับหนึ่งใหม่กับทีมนอกลีกอย่าง บาซิงสโตค
“มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย การเล่นนอกลีก หรือเริ่มต้นอาชีพใหม่ไปเลย” อาร์มสเวิร์ธ ดีกรีอดีตกัปตันทีมฟูแล่มรุ่น U-18 กล่าว
“โอกาสที่พวกเขา (ผู้จัดโครงการ) ได้เน้นย้ำนั้นมันสุดยอดจริง ๆ ครับ มันช่วยให้ผมคิดบวกมากขึ้น ช่วยให้ผมมองโลกในแง่ดี”
“และเป็นแรงบันดาลใจให้ผมทำงานหนักขึ้น”
การไปไม่สุดในเส้นทางอคาเดมีฟุตบอลของเยาวชนหลาย ๆ คน แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ต่างก็อยากลืม เพราะนี่คือความฝันของพวกเขาตั้งแต่วัยเยาว์
อย่างไรเสีย เพราะชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอ ที่สุดแล้วเรื่องลบ ๆ ในช่วงแรก ๆ ของชีวิตก็ได้ถูกแทนที่แบบเนียนสนิท ผ่านชีวิตใหม่ที่แต่ละคนต่างก็หนักแน่นทั้งกายและใจ
ภายใต้แรงสนับสนุนชั้นดีจากพรีเมียร์ลีก กับโครงการ ‘Premier League Preparation Programme’
หากท่านใดสนใจสมัครให้กดลิ้งนี้ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่…
https://member.ufafun88.fun/register/?s=google
หรือแอดไลน์